โครงการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืน (Learn to earn school model for sustainability)

โครงการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืน (Learn to earn school model for sustainability)

เขียนโดย
ประชาสัมพันธ์ สสศ.
เขียนเมื่อ
24 กุมภาพันธ์ 2568 , 2 เดือนที่แล้ว
จำนวนการเข้าชม
65 ครั้ง

โครงการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืน (Learn to earn school model for sustainability)

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืน (Learn to earn school model for sustainability) โดยมี นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริงานการศึกษาพิเศษ เป็นผู้กล่าวรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ คล้ายสังข์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณาจารย์ บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ Centara Life Government Complex Hotel & Convention Centre Chaeng Watthana (ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กทม.)

#สำหรับการดำเนินโครงการมีวัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา 6 แห่ง ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และถ่ายทอดหลักการแนวคิดการประกอบอาชีพให้กับนักเรีบนและบุคคลทั่วไปที่สนใจ

2. เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างสถานศึกษาและชุมชน เป็นแหล่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้แก่สถานศึกษาอื่นๆ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและบุคคลทั่วไปที่สนใจ

3. เพื่อให้สถานศึกษา 6 แห่ง เป็นสถานศึกษาต้นแบบในการสร้างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและเป็นศูนย์บ่มเพาะให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนและมีวิชาความรู้ติดตัวในการนำไปประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

#โดยมีโรงเรียนต้นแบบเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 โรงเรียนได้แก่

1.โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์

2.โรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท

3.โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๖ จังหวัดน่าน

4.โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๔ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

5.โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จังหวัดสงขลา

6.โรงเรียนเยาววิทย์ จังหวัดพังงา

และโรงเรียนที่เข้าร่วมอีก 100 โรงเรียน

 

     ซึ่งการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ได้เน้นและต่อยอดในเรื่องขององค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดในการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนเกิดการสร้างอาชีพ ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในศตวรรษที่ 21 การรวบรวมองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และเก็บรวมรวมองค์ความรู้สร้างเป็นศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืน จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งแก่นักเรียนกลุ่มนี้ให้มีความสามารถและทักษะทางอาชีพ นอกเหนือไปจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ในโรงเรียนนั้น ๆ แล้ว การพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบเป็นศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืน ยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างไร้พรมแดน และยังสามารถที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ของผลิตภัณฑ์ในแต่ละท้องถิ่นให้แก่สถานศึกษาอื่น ๆ ในรูปแบบออนไลน์ รวมไปถึงผู้ที่สนใจโดยทั่วไปอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

รูปภาพเพิ่มเติม

Social Media

ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่