
คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เข้าพบ ผอ. สศศ.
คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เข้าพบ ผอ. สศศ.
วันที่ 18 เมษายน 2568 คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เข้าพบ ดร.นัยนา ตันเจริญ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการ Learn to Earn ใช้การเรียนรู้นำทาง สร้างโอกาสในการทำงานตลอดชีวิต ณ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ อาคาร สพฐ. 2 ชั้น 1 กระทรวงศึกษาธิการ
#การรายงานความก้าวหน้าโครงการครั้งนี้
1) นักเรียนได้รู้จักตัวเองและใช้จุดแข็งอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจถึงความต้องการ สามารถกำหนดเป้าหมายชีวิตในด้านการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิต ต่อยอดไปถึงการรับมือและตัดสินใจกับเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น สื่อสารความรู้สึกความต้องการได้ดีขึ้น เปิดใจ มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นทั้งกับตัวเองและผู้อื่น รวมทั้งเกิดความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พัฒนาตัวเองได้ถูกทิศถูกทางมากขึ้น โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้นำเครื่องมือมาเสริมและช่วยประเมินตัวตนของนักเรียน (ตามทฤษฎีของ Bloom , 1956 การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างจะถาวร)
2) นักเรียนได้รับการพัฒนาและประเมินความสามารถ ในรูปแบบ K-A-S (Knowledge Attribute Skill) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
2.1) Knowledge (ความรู้) นักเรียนมีข้อมูลหรือความรู้ที่จำเป็นที่บุคคลควรจะมีในงานหรืออาชีพนั้น ๆ เช่น ความรู้เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับงาน การปฏิบัติทางกฎหมาย และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด
ในอุตสาหกรรม
2.2) Attribute (คุณลักษณะ) นักเรียนมีลักษณะทางบุคลิกภาพ หรือคุณสมบัติที่มีผลต่อการทำงาน เช่น ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความอดทน หรือทัศนคติที่ดีในการทำงาน
2.3) Skill (ทักษะ) นักเรียนได้ทราบถึงความสามารถในการปฏิบัติงานจริง เช่น การใช้เครื่องมือเฉพาะ การวิเคราะห์ข้อมูล การสื่อสาร หรือการแก้ไขปัญหา
ซึ่งโมเดลนี้ช่วยในการประเมินและพัฒนาทักษะของนักเรียนได้ครบถ้วนในทุกด้านเพื่อให้เหมาะสมกับบทบาทหรือความต้องการขององค์กรหรือตลาดแรงงานต่อไป