ติดตามและตรวจเยี่ยมสนามสอบ O-NET ป.6 ณ สนามสอบโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์

ติดตามและตรวจเยี่ยมสนามสอบ O-NET ป.6 ณ สนามสอบโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์

เขียนโดย
ประชาสัมพันธ์ สสศ.
เขียนเมื่อ
4 กุมภาพันธ์ 2568 , 2 เดือนที่แล้ว
จำนวนการเข้าชม
2 ครั้ง

ติดตามและตรวจเยี่ยมสนามสอบ O-NET ป.6 ณ สนามสอบโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์

     วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริดา บุรชาติ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (ผอ.สศศ.) นายเอกวัฒน์ ล้อสุนิรันดร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 ณ สนามสอบโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน (นายสุชาติ บรรจงการ) และคณะครูให้การต้อนรับ

การทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2567 มีจำนวน 4 วิชา ประกอบด้วย

(1) ภาษาไทย (2) ภาษาอังกฤษ (3) คณิตศาสตร์ และ (4) วิทยาศาสตร์ ดำเนินการทดสอบด้วยรูปแบบกระดาษ (Paper Pencil) และการทดสอบด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) สำหรับสนามสอบที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีจำนวนผู้มีสิทธิ์สอบทั้งหมด 708,246 คน จำแนกเป็น

(1) ทดสอบด้วยรูปแบบกระดาษ (Paper Pencil) ผู้มีสิทธิ์สอบจำนวน 704,648 คน

(2) ทดสอบด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) ผู้มีสิทธิ์สอบจำนวน 3,598 คน

ทั้งนี้ สทศ. ได้ดำเนินการตามพันธกิจซึ่งสอดคล้องกับจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการและนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีช่วย

ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน “ฉลาดรู้ (รู้ในสิ่งที่ควรรู้) ฉลาดคิด (คิดอย่างมีเหตุผล) ฉลาดทำ (ทำในสิ่งที่มีประโยชน์) สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” และส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติในทุกพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และได้พัฒนารูปแบบการทดสอบ O-NET จากเดิมทดสอบด้วยรูปแบบกระดาษ (Paper Pencil) สู่การทดสอบด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) สำหรับสนามสอบที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

โดย สทศ. ได้พัฒนาบุคลากรด้านการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการคัดเลือกคณะทำงานสร้างและกลั่นกรองการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล มีการจัดอบรมครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจากทุกสังกัดทั่วประเทศ เพื่อเข้ารับการอบรม “หลักสูตรการตรวจข้อสอบอัตนัย” โดยครูที่สอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับการคัดเลือกเป็น “ครูผู้ตรวจข้อสอบอัตนัยของ สทศ.” นอกจากนี้ ได้จัดประชุมพัฒนาบุคลากรด้านการทดสอบในระดับศูนย์สอบและระดับสนามสอบของทุกประเภทการสอบ เพื่อให้การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของ สทศ. มีความยุติธรรม และโปร่งใส

รูปภาพเพิ่มเติม

Social Media

ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่