
สพฐ. จัดกิจกรรมปล่อยแถวการเฝ้าระวังเหตุและสร้างความปลอดภัยในช่วงเทศกาล วันวาเลนไทน์ ประจำปี 2568
สพฐ. จัดกิจกรรมปล่อยแถวการเฝ้าระวังเหตุและสร้างความปลอดภัยในช่วงเทศกาล วันวาเลนไทน์ ประจำปี 2568
วันที่ 11 ก.พ. 68 นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ปล่อยแถวการเฝ้าระวังเหตุและสร้างความปลอดภัยในช่วงเทศกาล วันวาเลนไทน์ ประจำปี 2568 พร้อมด้วย ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดย นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มอบหมายให้ ดร.ธนนท์ วีรธนนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป เป็นผู้แทน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายเด็กและเยาวชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจนครบาล เข้าร่วม ณ โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพมหานคร
โดยนายสิริพงศ์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าว สพฐ. ได้ดำเนินงานตามนโยบายเรียนดี มีความสุข ของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งการทำให้เกิดความสุขของผู้เรียนได้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันเฝ้าระวังความปลอดภัยให้แก่นักเรียน โดยกิจกรรมเฝ้าระวังความปลอดภัยเนื่องในวันวาเลนไทน์นี้ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 15 ก.พ. ภายใต้ธีม “รักกันอย่างกัลยาณมิตร ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว สพฐ. ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับดูแลสวัสดิภาพเด็กและสตรี ช่วยกันดูแลเฝ้าระวังจุดพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ที่เด็กอาจเข้าไปมั่วสุม เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เป็นต้น โดยในส่วนของสถานศึกษาฝากครูดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งปลูกฝังความคิดเรื่องการรักตัวเองและเห็นคุณค่าในตัวเองให้แก่นักเรียนได้ซึมซับ เพื่อเป็นการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
"เรื่องการท้องไม่พร้อมในกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมถึงการเพิ่มอัตราพ่อแม่วัยใสมากขึ้น ผมคิดว่าสิ่งที่เราจะต้องดำเนินการมากที่สุด คือการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษา โดยเฉพาะครูจะต้องเป็นที่พึ่งที่ดีให้แก่นักเรียนต้องทำให้เด็กไม่รู้จักอายที่จะกล้าพูดเรื่องเพศศึกษา และสอนถึงเรื่องการมีความรักว่ารักแบบไหนถึงจะเป็นรักที่ดี และนำพากันไปสู่สิ่งดีๆ ในอนาคตที่เหมาะสม ส่วนประเด็นการติดตั้งตู้ถุงยางในสถานศึกษา แม้หลายฝ่ายจะมีข้อถกเถียงเรื่องการส่งเสริมให้เด็กมีเพศสัมพันธ์มากขึ้นนั้น ผมมองว่าเป็นที่สิ่งที่เราจะต้องให้ความรู้แก่นักเรียน เพราะเรื่องแบบนี้หากสถานศึกษาใดพร้อมในด้านการให้ความรู้เรื่องเพศ และการติดตามพฤติกรรมนักเรียนอย่างเข้มข้น หรือการติดตั้งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องการเรียนการสอนเพศศึกษาก็สามารถทำได้ สิ่งสำคัญคือเราต้องทำให้เด็กเกิดความตระหนักรู้ และต้องทำให้เด็กรู้ว่าเรื่องนี้คือเรื่องมาตรฐานและไม่อายที่จะเราจะต้องหาวิธีป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิด
เหตุการณ์ท้องไม่พร้อมในเด็กนักเรียน" นายสิริพงศ์ กล่าว