สศศ. เข้าร่วมการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 4/2568

สศศ. เข้าร่วมการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 4/2568

เขียนโดย
ประชาสัมพันธ์ สสศ.
เขียนเมื่อ
31 มกราคม 2568 , 3 เดือนที่แล้ว
จำนวนการเข้าชม
10 ครั้ง

สศศ. เข้าร่วมการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 4/2568

     วันที่ 29 มกราคม 2568 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 4/2568 ซึ่งมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เข้าร่วมประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom meeting โดยมี นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. และนางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผอ.สศศ. ในฐานะรองโฆษก ศธ. พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting

     รมว.ศธ. กล่าว ขอแสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ที่เห็นชอบให้ ศธ. โดย สพฐ. ดำเนินโครงการส่งเสริมการศึกษาเท่าเทียมด้วยระบบดิจิทัลพัฒนาทักษะะเครดิตพอร์ตโฟลิโอ งบประมาณ 4,214 ล้านบาท และอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ระยะเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ 2569-2573) เพื่อดำเนินโครงการฯ

     และเห็นชอบให้ สพฐ. ดำเนินโครงการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 งบประมาณ 29,765 ล้านบาท โดยอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ระยะเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ 2569-2573) เพื่อดำเนินโครงการฯ เช่นกัน

     นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบให้ ศธ. โดย สอศ. ดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษาทุกที่ทุกเวลา งบประมาณ 3,302 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา 3,212 ล้านบาท และโครงการผลิตสื่อวิดีทัศน์หรือสื่อโทรทัศน์เพื่อการศึกษาอาชีวศึกษา 90,000 บาท โดยอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ระยะเวลา 4 ปี (ปีงบประมาณ 2569-2572) เพื่อดำเนินโครงการฯ เช่นกัน

ซึ่งที่ประชุมได้รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA ของ สพฐ. ดังนี้

1. ความก้าวหน้าการอบรมสร้างและพัฒนาข้อสอบวัดความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในระดับเขตพื้นที่ จำนวน 245 เขตพื้นที่ 78 ห้องเรียน มีกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 445,624 คน ลงทะเบียนแล้วจำนวน 199,556 คน อบรมแล้วเสร็จ จำนวน 134,994 คน

จำนวน 245 เขต ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตตศาสตร์ และการอ่าน จำนวนทั้งสิ้น 27,642 คน

2. การคัดเลือกผลงานการสร้างข้อสอบของผู้บริหาร และแกนนำในการขยายผลการสร้างข้อสอบแนว PISA ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากแบบอย่างในกลุ่มต่าง ๆ

3. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน “โรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง” มีเขตพื้นที่ที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่ สพม.สิงห์บุรี อ่างทอง

4. ปฏิทินการขับเคลื่อนฯ 2568 เช่น การชี้แจงเตรียมความพร้อมครู ม.4 ทบทวนครู ม.3 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568, การสร้างความตระหนักแก่ผู้บริหารและครู และผู้ปกครอง ในเดือนพฤษภาคม 2568, ซ้อมสอบ นักเรียน ม.2 ระหว่างวันที่ 13 ก.พ. – 17 มี.ค.68 ในระบบ PISA Style และนักเรียน ม.3 ระหว่างวันที่ 10 – 21 ก.พ.68 รูปแบบ PAPER

#สกศ.

- การวิเคราะห์สภาวะการศึกษาไทย ของ Thai Education Situation Analysis (TESA) DASHBOARD

- รายงานการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาเชิงระบบ (THAILAND Zero Dropout)

#สกร. บุรีรัมย์ Zero Drop out model

- ข้อมูลเด็กหลุดออกนอกระบบ จำนวน 4,390 คน พบตัวในพื้นที่ 1,383 คน ไม่พบตัวในพื้นที่ 3,007 คน

มีผลสำรวจครบ ร้อยละ 100

- มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กที่ค้นพบ ประกอบด้วย ส่วนที่พบตัว (กลุ่มที่เคยศึกษา กลุ่มที่กำลังศึกษา และกลุ่มที่ไม่เคยศึกษา) จำนวน 1,383 คน (ในจำนวนนี้ มี 417 คน ที่ไม่ประสงค์รับการศึกษา), ส่วนกลุ่มไม่พบตัว มีสาเหตุจากการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศ อยู่ต่างจังหวัด อยู่ต่างอำเภอ และอยู่ในเรือนจำ สถานพินิจ เป็นพระ/เณร หรือเสียชีวิต เป็นต้น

     นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งจะส่งผลต่อผู้เรียนของเรา จึงขอให้กระทรวงศึกษาธิการ ดูแลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดรับกับสถานการณ์แต่ละพื้นที่ โดยคำนึงถึงสุขภาพผู้เรียน ครู และบุคลากร เป็นลำดับแรก”

รูปภาพเพิ่มเติม

Social Media

ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่