ผลการประชุมประสานภารกิจ 1/2568

ผลการประชุมประสานภารกิจ 1/2568

เขียนโดย
ประชาสัมพันธ์ สสศ.
เขียนเมื่อ
10 มกราคม 2568 , 4 เดือนที่แล้ว
จำนวนการเข้าชม
186 ครั้ง

ผลการประชุมประสานภารกิจ 1/2568

วันที่ 8 มกราคม 2568 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และโฆษก ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. และนางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผอ.สศศ. ในฐานะรองโฆษก ศธ. พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting

ซึ่งการประชุมวันนี้ ที่ประชุมได้แสดงความชื่นชม นางสาวเบญจวรรณ กันภัย (รินดา) และนางสาวศิริพร ดิษฐสุวรรณ (นิว) นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม “จุติ ก้อง อนุสรณ์” จังหวัดพังงา ที่พบเห็นชายสูงอายุขี่รถจักรยานสามล้อพ่วงข้างนอนหมดสติอยู่บนรถ เมื่อช่วงบ่ายเวลา 14.00 น. ของวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา บริเวณใกล้ศาลเจ้าเชิงทะเล ถนนศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ด จึงเร่งให้

การช่วยเหลือเข้าปั๊มหัวใจ (CPR) ด้วยเครื่อง AED พร้อมกับมีการประเมิน และสั่งช็อต 2 ครั้ง เนื่องจากนักเรียนผ่านการอบรม CPR มาแล้ว ส่วนเพื่อน ๆ ได้ช่วยโทรแจ้ง 1669 และกั้นรถบริเวณจุดเกิดเหตุ ก่อนที่ทีมกู้ภัยได้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาลถลางเป็นการเร่งด่วนต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA ของ สพฐ. และ สกศ.

**(สพฐ.)

- ความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ในระดับเขตพื้นที่ ทุกรุ่น ใน 245 เขต พื้นที่ ขณะนี้ลงทะเบียนทั้งหมด 176,465 คน อบรมเสร็จแล้ว 44,584 คน

- การอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ จัดในรูปแบบ on dernand โดยมีวิทยากรแกนนำเป็นพี่เลี้ยง กำกับ ติดตาม ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน

- รายงานความก้าวหน้าการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบในระดับเขตพื้นที่ และระดับสถานศึกษา เช่น สพป.ชัยนาท และ สพม.มหาสารคาม มีการขยายผลพัฒนาผู้เรียน ด้วยเกม PISA Gamitication (PSA เกมมีฟิเคชั่น) ทําให้เด็กเกิดความท้าทาย และสนุกในการเรียนรู้

- อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดการซ้อมสอบพร้อมกันทั่วประเทศแบบกลุ่ม โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน

**(สกศ.)

- นำเสนอข้อค้นพบจาก โครงการ PISA-Based Test for School (PBTS 2023) ประเทศไทย โดย กสศ. ร่วมกับ OECD ร่วมดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์จากผลการทดสอบ PISA ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียน ได้แก่

1. ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนอย่างทวีคูณ "การยกระดับ PISA จึงต้องให้ความสำคัญครอบคลุมไปถึงครอบครัวด้วย"

2. ผลคะแนน PBTS 2023 เชื่อมโยงกับคะแนนโอเน็ต ป.6 "หากสามารถพัฒนาผลการทดสอบโอเน็ตได้ ก็จะทำให้ผลทดสอบ PISA ดีขึ้นด้วยเช่นกัน"

3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อ PISA ได้แก่ เศรษฐฐานะ สภาพแวดล้อมในห้องเรียน ทักษะสมอง EF กับเด็กปฐมวัย Personality และ Growth Mindset เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลการทดสอบ PISA "การพัฒนานักเรียนตั้งแต่ประถมศึกษาหรือปฐมวัย ช่วยยกระดับผลการทดสอบ PISA และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วย" เศรษฐฐานะ (หรือเศรษฐกิจเชิงสังคม) Economic status or Socio-economic

และรายงานการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาเชิงระบบ (THAILAND Zero Dropout)

***สกศ. รายงานผลการดำเนินงานการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาเชิงระบบ (Thailand Zero Dropout) ข้อมูลเด็กวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา ณ 6 ม.ค.68 จำนวนเด็กนอกระบบบการศึกษา 1,025,514 คน ติดตามแล้ว 557,277 คน คิดเป็นร้อยละ 54.34 ยังไม่ได้ติดตาม 468,237 คน คิดเป็นร้อยละ 45.66 โดยในจำนวนนี้ มีเด็กการศึกษาภาคบังคับ ช่วงอายุ 6 - 15 ปี ตกหล่นจำนวน 442,962 คน ติดตามแล้ว 176,450 คน คิดเป็นร้อยละ 39.83 ยังไม่ได้ติดตาม 266,512 คน คิดเป็นร้อย 60.17

***บุรีรัมย์ Zero Drop out model

- ข้อมูลเด็กหลุดออกนอกระบบ จำนวน 4,390 คน พบตัว 1,373 คน ไม่พบตัว 3,017 คน มีผลสำรวจครบทั้ง 100%

- มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กที่ค้นพบ ประกอบด้วย ส่วนที่พบตัว จะอยู่ในกลุ่มที่เคยศึกษา กลุ่มที่กำลังศึกษา และกลุ่มที่ไม่เคยศึกษา, ส่วนกลุ่มไม่พบตัว มีสาเหตุจากการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศ อยู่ต่างจังหวัด อยู่ต่างอำเภอ และอยู่ในเรือนจำ สถานพินิจ เป็นพระ/เณร หรือเสียชีวิต เป็นต้น

รูปภาพเพิ่มเติม

Social Media

ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่