ผลการประชุมประสานภารกิจ 44/2567

ผลการประชุมประสานภารกิจ 44/2567

เขียนโดย
ประชาสัมพันธ์ สสศ.
เขียนเมื่อ
25 ธันวาคม 2567 , 4 เดือนที่แล้ว
จำนวนการเข้าชม
180 ครั้ง

ผลการประชุมประสานภารกิจ 44/2567

     วันที่ 25 ธันวาคม 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 44/2567 โดยมี นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และโฆษก ศธ. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการ กพฐ. และนางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผอ.สศศ. ในฐานะรองโฆษก ศธ. พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting

     ซึ่งการประชุมวันนี้ ได้รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับนานาชาติ หรือ พิซา ในการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ในระดับเขตพื้นที่ ทุกรุ่น จำนวน 245 เขตพื้นที่ ขณะนี้ ลงทะเบียนทั้งหมด 164,065 คน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาทั้งหมด 445,624 คน พร้อมสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ในระดับเขตพื้นที่ ครบทั้ง 100% แล้ว นอกจากนี้ ได้มีการจัดทำแผนการขยายผลการอบรมและพัฒนาครูสร้างข้อสอบตามแนวพิซาในรูปแบบออนไลน์ ด้วย ซึ่งอยากเน้นให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา โดยเป้าหมายต้องไม่มีเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียน และได้เน้นย้ำในที่ประชุม อยากให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เป็นหน่วยงานหลักในการวัดและประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจะต้องสร้างแรงจูงใจในการทำข้อสอบพิซาให้ได้มากที่สุด ไม่ได้บังคับแต่เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กกลุ่มนี้มาเข้าทดสอบพิซาให้ได้มากที่สุด

     รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ได้หารือถึงโครงการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา เด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา และเด็กตกหล่น ซึ่งสภาการศึกษา (สกศ.) ได้รายงานผลการดำเนินงานการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาเชิงระบบ (Thailand Zero Dropout) ข้อมูลเด็กวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา (ระหว่างวันที่ 16-23 ธ.ค. 67) ภาพรวมเพิ่มขึ้นจากเดิม จำนวน 21,756 คน แยกเป็น เด็กสัญชาติไทย จำนวน 17,705 คน เด็กต่างชาติ จำนวน 4,051 คน และรายงานผลการนำนักเรียนตกหล่นกลับเข้าสู่ระบบมากที่สุด ได้แก่ สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.สงขลา เขต 3 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 สพป.นครพนม เขต 2 และ สพป.นนทบุรี เขต 2 ขณะที่รายงานผลการนำนักเรียนออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบมากที่สุด ได้แก่ สพม.บุรีรัมย์ สพม.นครราชสีมา สพม.นครพนม และ สพป.ชลบุรี เขต 3 ทั้งนี้ ขอให้สำรวจให้ครบถ้วนว่าที่เด็กหลุดจากระบบ หรือไม่เข้ามาในระบบอีก มีสาเหตุจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง

รูปภาพเพิ่มเติม

Social Media

ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่