
การประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 49/2567
การประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 49/2567
วันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2567 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 49/2567 โดยมี นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการ กพฐ. นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขา กพฐ. นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง สพฐ. ผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม zoom meeting
การประชุมฯ ดังกล่าว การบูรณาการจุดเน้น/ประเด็น/ตัวชี้วัดการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เป็นกรอบแนวทาง/เครื่องมือการกำหนดประเด็นการติดตาม/ตัวชี้วัดการติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องกับ สพฐ. ของสำนักในส่วนกลาง เขตพื้นที่ตรวจราชการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในการขับเคลื่อนดำเนินงานและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด
2.บูรณาการการติดตาม ประเมินผล และลดประเด็นการติดตาม ตัวชี้วัดที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่มีความจำเป็น เพื่อลดภาระการรายงานของสำนัก/ สพท./สถานศึกษา
3. ลดการจัดเก็บข้อมูล/การรายงานที่ซ้ำซ้อน เก็บข้อมูลครั้งเดียวใช้ได้หลายครั้ง
4. เป็นสารสนเทศในภาพรวมของ สพฐ. ในการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สพฐ. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานและเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. จัดทำข้อเสนอแนะจากการติดตามประเมินผลไปสู่การปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สพฐ. สู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
ทั้งนี้สศศ.ได้รายงานการดำเนินโครงการสัมมนาผู้นำเชิงปฏิบัติการและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรหลักสูตร “จิตตปัญญาศึกษา”
โครงการ Learn to Earn และ website e-market ดังนี้
มีการวางขายผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมในเดือน พฤศจิกายน
- จำนวนสินค้าทั้งหมดเพิ่มจากเดือนตุลาคม 1,259 ชิ้น เป็น 1,290 ชิ้น เพิ่มขึ้น 31 ชิ้น
- จำนวนสินค้าเฉพาะของ สศศ. เพิ่มจากเดือนตุลาคม 401ชิ้น เป็น 417 ชิ้น เพิ่มขึ้น 14 ชิ้น
มีการวางแผนการขยายผล e-market เพิ่มเติม ในวัน เสาร์ที่ 14 ธ.ค. 67 โดยมีวิทยากรจาก สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ
1 ข้าราชการครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 111 โรงเรียน โรงเรียนจะ 2 คน รวมเป็น 222 คน
2 ข้าราชการหรือบุคลากรในเขตพื้นที่ เขตละ 1 คน รวมเป็น 245 คน
3 ข้าราชการสังกัดสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 33 คน