บทบาทอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
1. ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
1.1 จัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนการจัดการศึกษาพิเศษเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งประเมินและรายงานผล
1.2 ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส จัดระบบสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
1.3 วิจัยและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
1.4 ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
1.5 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบมา
2. ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ซึ่ง ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาสำหรับคนพิการ
2.1 ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถานศึกษา รวมทั้งประเมินและรายงานผลต่อคณะกรรมการ
2.2 สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการเรียนร่วมแก่คนพิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างทั่วถึงมีคุณภาพ
2.3 วิจัย และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของคนพิการ
2.4 ผลิต วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาของคนพิการ
2.5 ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
2.6 ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของกองทุน
2.7 ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานทางการศึกษาสามารถผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
2.8 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล ครอบครัวชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
2.9 ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส ที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มี 178 แห่ง จำแนกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. โรงเรียนเฉพาะความพิการ 49 โรงเรียน ใน 47 จังหวัด
1.1 ประเภทบกพร่องทางสติปัญญา/ออทิสติก 20 โรงเรียน ใน 19 จังหวัด (รับนักเรียนแบบ อยู่ประจำ)
1.2 ประเภทบกพร่องทางการได้ยิน 21 โรงเรียน ใน 20 จังหวัด (รับนักเรียนแบบอยู่ประจำ)
1.3 ประเภทบกพร่องทางการเห็น 2 โรงเรียน ใน 2 จังหวัด (รับนักเรียนแบบ อยู่ประจำ)
1.4 ประเภทบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว 5 โรงเรียน ใน 5 จังหวัด (รับนักเรียนแบบอยู่ประจำ)
1.5 ประเภทบกพร่อง 5 ประเภท 1 โรงเรียน ใน จังหวัด (รับนักเรียนแบบ อยู่ประจำ)
2. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการ มี 77 ศูนย์
2.1 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 13 ศูนย์ ใน 13 จังหวัด
2.2 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด 64 ศูนย์ ใน 64 จังหวัด
3. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 52 โรงเรียน ใน 43 จังหวัด
3.1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 38 โรงเรียน ใน 38 จังหวัด (รับนักเรียน แบบอยู่ประจำ)
3.2 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 10 โรงเรียน ใน 10 จังหวัด
3.3 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ 1 โรงเรียน ใน 1 จังหวัด
3.4 โรงเรียนฟ้าใสวิทยา 1 โรงเรียน ใน 1 จังหวัด
3.5 โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต 1 โรงเรียน ใน 1 จังหวัด
3.6 โรงเรียนเยาววิทย์ 1 โรงเรียน ใน 1 จังหวัด